|
 |
เมอร์ส : โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ |
|
|
แหล่งที่มาของเชื้อ
ผู้ป่วยรายแรกที่พบการติดเชื้อ MERS-CoV พบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555
โดยยังไม่ทราบแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสชนิดนี้แต่คาดการณ์ว่าติดต่อมาจาก
สัตว์เนื่องจากพบเชื้อ MERS-CoV ในอูฐในประเทศกาตาร์ โอมาน อียิปต์
และซาอุดิอาระเบีย
นอกจากนี้แล้วยังตรวจพบว่าอูฐในประเทศอื่นอีกหลายประเทศมีภูมิคุ้มกันต่อ
เชื้อ MERS-CoV
ซึ่งหมายความว่าอูฐเหล่านั้นอาจเคยติดเชื้อไวรัสชนิดนี้หรือสายพันธุ์ที่
ใกล้เคียงมาก่อน นอกจากนี้แล้วในประเทศซาอุดิอาระเบียยังตรวจพบเชื้อ
MERS-CoV ในค้างคาวอีกด้วย
อาการแสดง
เชื้อ MERS-CoV
ก่อให้เกิดอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงเรียกว่า MERS
ซึ่งประกอบด้วยอาการไอ มีไข้และหายใจลำบาก
ในผู้ป่วยบางรายการติดเชื้ออาจไม่มีอาการแสดงใดๆ
หรือบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเหมือนป่วยเป็นโรคหวัดและจะหายได้เป็น
ปกติ
แต่ในผู้ป่วยบางรายอาการป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น
ท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
ในผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรครุนแรงอาจเกิดภาวะปอดบวมหรือไตวายได้
ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ MERS-CoV
ได้สูงกว่าคนทั่วไป และจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรครุนแรง
สิ่งที่น่าเป็นกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ MERS-CoV คือผู้ป่วยประมาณร้อยละ
30 จะเสียชีวิต โดยผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีสภาวะอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น
เป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือมีโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ปอด
หรือไต เป็นต้น
ที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
การติดต่อและระบาดวิทยา
การติดต่อของเชื้อ MERS-CoV นั้นพบในบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น
บุคลากรทางการแพทย์ บุคคลในครอบครัว เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบรายงานการระบาดของเชื้อ MERS-CoV ในชุมชน
ผู้ป่วยทุกรายที่มีการติดเชื้อ MERS-CoV
นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ได้แก่
ผู้ป่วยจะมีประวัติอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้หรือเดินทางกลับมาจากประเทศ
เหล่านี้
ในผู้ป่วยบางรายพบว่าไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเทศเหล่านี้แต่มีบุคคล
ใกล้ชิดเดินทางกลับมาจากประเทศในคาบสมุทรอาหรับ
โดยประเทศในคาบสมุทรอาหรับที่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อ MERS-CoV
ประกอบด้วยประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน จอร์แดน
คูเวต เยเมน อิหร่าน และเลบานอน
ส่วนประเทศที่มีรายงานการพบผู้ป่วยนอกคาบสมุทรอาหรับ (มิถุนายน 2557)
ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ตูนีเซีย อิตาลี มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ กรีซ อียิปต์ อัลจีเรีย และเนเธอแลนด์
การเฝ้าระวัง
จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าเชื้อ MERS-CoV มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2
14 วัน ดังนั้นหากผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ และภายใน 14
วันก่อนหน้ามีประวัติเดินทางไปในประเทศในคาบสมุทรอาหรับหรือสัมผัสใกล้ชิด
กับบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศในคาบสมุทรอาหรับ
รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงแต่ไม่สามารถ
หาเชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคได้ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ MERS-CoV
การป้องกันและการรักษา
เนื่องจากเชื้อ MERS-CoV เป็นเชื้ออุบัติใหม่
ในปัจจุบันจึงยังไม่มียาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับเชื้อไวรัสชนิดนี้
การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการแสดงของผู้ป่วย
แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอยู่ในระหว่างรอผลตรวจหาเชื้อ
แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส Oseltamivir ในขนาดที่ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่
การใช้ยาต้านไวรัส Ribavirin
นั้นยังมีผลการศึกษาค่อนข้างน้อยและอาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง
นอกจากนี้แล้วเชื้อ MERS-CoV ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน
ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติตนตามแนวทางการดูแลสุขอนามัยที่
ดี เช่น การทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การล้างมือ การใช้ช้อนกลาง
การใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการป่วย เป็นต้น
หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศในคาบสมุทรอาหรับ
ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด
และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น ฟาร์ม ตลาด
เป็นต้น
ที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
|
|
โพสข้อมูลเมื่อ วันที่ : 10 ก.ค. 2558 เวลา 00:00 น.
( เข้าชมทั้งสิ้น 2372 ครั้ง )
|
|
|